7 รูปแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย มีอะไรบ้าง ? เหมาะกับการติดตั้งลักษณะไหน ?

รูปแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย มีอะไรบ้าง เหมาะกับการติดตั้งลักษณะไหน

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ในปัจจุบันนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่จำนวนมากครับ 

โดยโรงงานเหล่านี้มักจะมีน้ำเสียที่รอการปล่อยออกสู่ธรรมชาติ แต่ก่อนปล่อยน้ำจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสีย หรือ ปรับสภาพน้ำเสีย ให้ผ่านมาตรฐานก่อนปล่อยเสมอ เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการบำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดได้หลายวิธีมากๆ 

บทความนี้ Mittwater จะพาไปทำความรู้จักว่า ระบบบำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? มีทั้งหมดกี่แบบ ? มีประโยชน์อย่างไร ? และมีแนวทางเลือกบริษัทติดตั้งทำระบบบำบัดน้ำเสียอย่างไรบ้าง ?

คลิกอ่านหัวข้อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซ่อน

ระบบบำบัดน้ำเสีย คืออะไร ?

ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ กระบวนการช่วยกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กิจวัตรประจำวันของมนุษย์ 

ผ่านการทำให้น้ำเสียอยู่ในสภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานน้ำทิ้งหรือน้ำเสียที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด หากพูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ การทำระบบน้ำเสียเป็นการทำให้สิ่งปนเปื้อนในน้ำเหลือน้อยที่สุดครับ

การทำระบบำบัดน้ำเสีย
การทำระบบำบัดน้ำเสีย

ประโยชน์การทำระบบบำบัดน้ำเสีย มีอะไรบ้าง ?

ข้อดีของการทำระบบน้ำเสีย ส่งผลดีกับโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว กลับไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการหมุนเวียนพลังงานน้ำอย่างหนึ่ง
  • คุณภาพแหล่งน้ำดีขึ้น ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น สามารถทำกิจกรรมทางน้ำได้ เช่น แข่งเรือ ลอยกระทง ฯลฯ
  • ลดปัญหาน้ำท่วม เพราะน้ำเสียมักมีขยะเจือปน และหมักหมมจนเข้าไปอุดตันท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยออกไป จะช่วยกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ไม่ทำให้เกิดการอุดตันท่อระบายน้ำครับ
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทางน้ำ เช่น ทะเล  ตลาดน้ำ การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อย จะช่วยทำให้สภาพน้ำดีขึ้น มีทัศนียภาพที่ดี สวยงาม ไม่มีกลิ่นเหม็น สะอาดน่ามองมากขึ้น 
  • ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคผ่านทางน้ำ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี , HIV ฯลฯ
  • ผู้คนมีน้ำสะอาดและปลอดภัยสำหรับการใช้งาน เช่น การอาบน้ำ ล้างหน้า ดื่ม ใช้ปรุงอาหาร 

7 รูปแบบ ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ติดตั้งใช้งานจริง

1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)

สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งชุมชนที่มีน้ำค่อนข้างสกปรกมากได้ดีครับ

โดยจะอาศัยหลักการเติมอากาศ หรือ ออกซิเจน จากเครื่องเติมอากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณที่เพียงพอ 

โดยที่จุลินทรีย์ในน้ำเสีย สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วมากขึ้น กว่าการปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ทำให้การบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศมีประสิทธิภาพมาก ๆ นั่นเองครับ

การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge)

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง หรือ ระบบบําบัดน้ําเสีย AS เป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา มีการใช้แบคทีเรียจำพวกที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวหลัก ในการช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย 

โดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ และ ถังตกตะกอน เมื่อบำบัดเสร็จแล้ว จะสามารถระบายออกสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยครับ

3. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor : RBC)

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยา โดยน้ำเสียจะไหลผ่านตัวกลาง ที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก วางจุ่มอยู่ในถังบำบัดที่จะหมุนช้า ๆ 

เมื่อหมุนพ้นน้ำและสัมผัสอากาศ จุลินทรีย์ที่ติดอยู่กับตัวกลาง จะใช้ออกซิเจนจากอากาศช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ และเมื่อหมุนจมลงน้ำก็จะนำน้ำเสียขึ้นมาบำบัดใหม่ ซึ่งจะทำสลับกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

การทำระบบบำบัดน้ำเสีย MBR
การทำระบบบำบัดน้ำเสีย MBR

4. ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR (Membrane Bio Reactor)

การบำบัดน้ำเสีย MBR เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ผสมผสานระหว่างการใช้จุลินทรีย์กำจัดสารที่อยู่ในหน้า กับ การกรองผ่านเยื่อเบรน (Membrane) ที่มีรูขนาดเล็ก ที่สามารถแยกของเสียแบบเป็นตะกอนออกจากน้ำเสียได้

โดยขนาดการกรองต้องไม่เกิน 1 ใน 5,000 ส่วนของมิลลิเมตร นอกจากนี้ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR ยังสามารถบำบัดน้ำเสียได้เร็วกว่าในพื้นที่บ่อบำบัดที่มีขนาดเล็ก

คลิกอ่านเพิ่มเติม : กระบวนการเมมเบรน Membrane Process คืออะไร ?

5. ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)

ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการใช้แบคทีเรีย จำพวกที่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวหลัก ในการช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มจำนวน ก่อนจะถูกแยกออกจากน้ำทิ้งด้วยการตกตะกอน 

ซึ่งการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียนค่อนข้างซับซ้อนครับ เพราะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อม และลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะต่อการทำงาน เพื่อระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์

6. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)

การบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ เป็นบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติ และกำลังได้รับความนิยมมาก ๆ ในปัจจุบันนี้ครับ 

เพราะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ซับซ้อน และไม่ใช้เทคโนโลยีในการบำบัดสูง เหมาะสำหรับการใช้บำบัดน้ำเสียภายในชุมชน ช่วยทำให้น้ำกลับมามีประสิทธิภาพ สะอาดมากขึ้นอีกครั้ง 

7. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย สามารถแบ่งออกไป 3 รูปแบบ คือ 

  1. บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) 
  2. บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) 
  3. บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond)  

ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร ฯลฯ

ทำระบบบำบัดน้ำเสีย นิยมใช้งานในลักษณะไหน
การทำระบบบำบัดน้ำเสียนิยมติดตั้งในระบบโรงงานอุตสาหกรรม

การทำระบบบำบัดน้ำ นิยมใช้งานในลักษณะไหน

  • งานสำหรับปรับสภาพน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม ให้สะอาดมากขึ้น ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือนำกลับมาใช้งานซ้ำ
  • งานบำบัดน้ำเสียภายในชุมชน ลดปัญหาน้ำส่งกลิ่นเหม็น ขยะอุดตันตามท่อระบายน้ำ 
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น ตลาดน้ำ น้ำตก

ตัวอย่างการออกแบบระบบน้ำเสีย

การทำระบบบำบัดน้ำเสีย MBR
การทำระบบบำบัดน้ำเสีย MBR
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง
การทำระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง
การทำระบบำบัดน้ำเสีย
การทำระบบบำบัดน้ำเสีย

ติดตั้งระบบน้ำเสีย ราคาเท่าไหร่ ?

ราคาทำระบบบำบัดน้ำเสีย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ครับ เช่น รูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ กำลังการผลิตน้ำเสีย คุณภาพน้ำเสียเดิม ฯลฯ

หากต้องการทราบราคาทำระบบน้ำเสียที่แน่นอน จำเป็นต้องติดต่อบริษัทรับทำระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อเข้าประเมินคุณภาพน้ำที่หน้างานก่อนเสมอ จึงจะสามารถคำนวณราคาทำได้ครับ

แนวทางการเลือกบริษัทรับติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย

  • มีความเชี่ยวชาญด้านระบบน้ำดี : เช่น ระบบน้ำประปา ระบบน้ำในอุตสาหกรรม ระบบกรองน้ำบาดาล ฯลฯ ที่ไม่ใช้ระบบน้ำเสีย
  • มีประสบการณ์การทำระบบน้ำเสีย : เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน ระบบบำบัดน้ำเสียในอาคาร ฯลฯ 
  • สอบถามข้อมูลก่อนแจ้งราคาที่แน่นอน : มีช่องทางการติดต่อที่สะดวก สามารถสอบถามข้อมูลก่อนแจ้งราคาได้ตลอดเวลา
  • ให้คำปรึกษาฟรีก่อนการติดตั้ง : สามารถให้ปคำรึกษาอย่างตรงไปตรงมา ละเอียด ไม่หมกเม็ด
  • ออกแบบ และ ติดตั้ง โดยวิศวกรระบบน้ำ : คอยควบคุมงาน เพื่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ไม่เกิดข้อผิดพลาด ที่ส่งผลต่อความเสียหายของลูกค้า

ขั้นตอนทำระบบน้ำเสีย กับ Mittwater

  1. ติดต่อวิศวกรระบบน้ำ Mittwater
  2. แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่วิศวกรแจ้งขอ
  3. นัดวัน เวลา เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ และดูพื้นที่หน้างานจริง
  4. เจ้าหน้าที่แจ้งราคาทำระบบบำบัดน้ำเสีย หลังจากประเมินหน้างาน
  5. เซ็นสัญญาการทำระบบบำบัดน้ำเสีย
  6. เริ่มดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย

สรุปเรื่องการทำระบบบำบัดน้ำเสีย

การทำระบบบำบัดน้ำเสียสามารถทำได้ 7 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีหลักการทำงาน และข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพน้ำ จุดประสงค์การใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียภายในพื้นที่ครับ

คลิกประเมินราคาโดยวิศวกร

ให้บริการทำระบบน้ำอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ระบบน้ำประปา ระบบกรองน้ำบาดาล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบน้ำโดยเฉพาะ คลิกขอรับคำปรึกษากับเราได้ที่นี่

————————
ติดต่อ Mittwater ได้ที่นี่
โทร : 086-080-6629 (คุณธัชชัย)
Line : @mitrwater
ติดต่อช่องทางอื่นๆ : www.mittwater.com/contact